วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การตรวจค้นทุ่นระเบิด(MINE DETECTION) ตอนที่ 1

• การตรวจค้นทุ่นระเบิด (MINE DETECTION) คือการค้นหาทุ่นระเบิดและกับระเบิดที่วางไว้ด้วยวิธีการต่างๆ ในขั้นแรกเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจค้นจะต้องพบและทราบตำบลที่วางทุ่นระเบิดหรือกับระเบิดอย่างกว้างๆก่อนโดยพิจารณาจากข้อมูลดังต่อไปนี้ 
• การพิจารณาว่าตำบลที่มีการวางทุ่นระเบิดสังเกตจาก การถูกระเบิดโดยตรงของคน การลาดตระเวนทางพื้นดิน ทางอากาศ การลาดตระเวนด้วยการยิง การตีความจากภาพถ่ายทางอากาศ การซักถามจากบุคคลในพื้นที่ จากเอกสารการบันทึกสนามทุ่นระเบิด 
• วิธีการตรวจค้นทุ่นระเบิด  (DETECTION METHODS) กระทำได้ 4 วิธีคือ 1.การตรวจค้นด้วยสายตา 2.การตรวจค้นด้วยของแหลม 3.การตรวจค้นด้วยเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด 3.การตรวจด้วยสุนัขที่ได้รับการฝึกเพื่อตรวจค้นทุ่นระเบิดโดยเฉพาะ
 • การตรวจค้นด้วยสายตา ทำได้โดยการที่มีสิ่งบอกเหตุ ต่างๆเหลือทิ้งอยู่ เช่น ดินที่ถูกรบกวน กองหิน กากหีบห่อทุ่นระเบิด หรือสลักนิรภัยของชนวน เครื่องหมายแสดงสนามทุ่นระเบิด ในการตรวจค้นเริ่มต้นจากตำบลที่น่าจะวางทุ่นระเบิด หรือกับระเบิด ดังนี้ 1.หลุม หรือรอยแตกหรือตำบลที่ขุดง่ายบนถนน 2.ข้างใต้ตรงริมของผิวถนนตรงจุดรวมของผิวถนนกับไหล่ถนน 3.บนไหล่ถนนเมื่อวางทุ่นระเบิดและพรางทุ่นระเบิดได้โดยง่าย ทุ่นระเบิดฝังลึกๆบนไหล่ถนนนั้นตรวจค้นได้ยาก 4.ทางเบี่ยงและรอบๆสะพาน ทางโค้ง ทางร่วมทางแยก 5.ต้นสะพานหรือปลายสะพาน หลุมขนาดใหญ่ที่สามารถหลบซ่อนภัย 6.ในเครื่องกีดขวางลวดหนาม รั้วลวด และเครื่องกีดขวางคล้ายๆกัน ตลอดจนเครื่องกีดขวางอื่นๆ เช่นยายพาหนะที่ถูกทิ้งไว้ ต้นไม้ที่ล้มขวางถนนตลอดกิ่งไม้ที่กีดขวางทางเดิน 7.ใกล้กับวัตถุที่ผิวธรรมชาติ 8.ในตำบลที่มีการขับยานพาหนะ เข้า ออก ตามปกติ เช่น ที่กลับรถ ที่จอดรถ ทางเข้าอาคาร ช่องแคบ และทางวิ่งของสนามบิน 9.ใกล้ซากศพหรือของที่ระลึก 10.ตำบลที่น่าจะเป็นที่พักแรม หรือจุดที่รวมพล ในอาคารที่เหมาะจะใช้เป็นที่บังคับการและที่ตรวจการณ์

ที่มา : ตำรา หลักสูตรตรวจค้นและทำลายฯ ศทช.ฯ สงครามทุ่นระเบิด รร.ช.กช.

อ่านต่อ  : การตรวจค้นทุ่นระเบิด (MINE DETECTION) ตอนที่2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น