วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

ผู้พิการทางการเห็น
ผู้พิการบกพร่องการเคลื่อนไหว
ผู้พิการทางการได้ยิน
ผู้พิการทางการมองเห็น และเคลื่อนไหว

ความหมายของคำว่า  "คนพิการ"

คนพิการ  หมายถึง  บุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติในกิจวัตรประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม เนื่องจากมีบกพร่องในการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา หรือการเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับการมีอุปสรรคชนิดต่าง ๆ และมีความจำเป็นพิเศษที่ต้องได้รับความช่วยเหลือด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลอื่น
ประเภทของคนพิการ แบ่งเป็น 6 ประเภท ประกอบด้วย

1 ความพิการทางการเห็น
1 ความพิการทางการได้ยิน หรือสื่อความหมาย
3 ความพิการทางการเคลื่อนไหว หรือทางร่างกาย
4 ความพิการทางจิตใจ หรือออทิสติก
5 ความพิการทางสติปัญญา
6 ความพิการทางการเรียนรู้ 

การทำบัตรประจำตัวผู้พิการ

กรุงเทพมหานคร : สามารถติดต่อได้ที่ 
1 ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน 12  เขต
2 โรงพยาบาลรามาธิบดี
3 สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (ฝ่ายสังคมสงเคราะห์)
4 โรงพยาบาลศิริราช (สถาบันราชานุกุล)
5 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ต่างจังหวัด : สามารถติดต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ตั้งอยู่ที่ศาลากลางทุกจังหวัด หรือที่ อบต/เทศบาล

หลักฐานที่ประกอบการขอมีบัตรคนพิการ ประกอบด้วย 
1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรข้าราชการ หรือสำเนาสูติบัตรของคนพิการ
2 สำเนาทะเบียนบ้านของคนพิการ
3 รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน    2 รูป  ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
4 ใบรับรองความพิการ ออกโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของรัฐบาล หรือสถานพยาบาลเอกชนที่มีเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติประกาศกำหนด เว้นแต่สภาพความพิการที่สามารถมองเห็นได้โดยโประจักษ์ ไม่ต้องมีใบรับรองความพิการก็ได้

สิทธิคนพิการ
สวัสดิการเบี้ยคนพิการ คนพิการที่มีบัตรคนพิการและลงทะเบียนขอรับเบี้ยคนพิการไว้แล้ว  มีสิทธิรับเบี้ยคนพิการรายเดือน เดือนละ 600 บาท

หลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยความพิการ   มีดังนี้
1 สัญชาติไทย
2 มีบัตรประจำตัวคนพิการ
3 มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
4 ไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐบาลกรือเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนส่วนใหญ่จากรัฐ
5 คนที่พิการที่ได้รับสิทธิตามที่รับบัญญัติตามกฎหมายหรือระเบียบอื่น ไม่เป็นการตัดสิทธิ์ที่คนพิการจะได้รับสิทธิตามระเบียบนี้

ยกตัวอย่าง  ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอยู่แล้ว และเป็นผู้พิการด้วย ก็เท่ากับเป็นผู้สูงอายุพิการ หรือผู้พิการสูงอายุ
 มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600 บาท 
 รับเบี้ยผู้พิการ 500 บาท
 รวมรับเบี้ย 1,100 บาท

หมายเหตุ 
1 ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปี           ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ     600   บาท
ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 70 - 79 ปี   ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ    700   บาท
ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 80 - 89 ปี   ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ    800   บาท
4 ผู้สูงอายุที่มีอายเกิน 90 ปี            ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ   1,000 บาท

นอกเหนือจากสิทธิคนพิการจะได้รับเบี้ยความพิการแล้ว ยังสิทธิด้านอื่นๆ ที่ไม่รัฐไม่อาจจะปฏิเสธด้วยการเพิกเฉยไม่ยื่นมือเข้าไปช่วย หรือหยิบยื่นโอกาสอันพึงได้ให้กับประชาชนได้อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยไม่มีใครเสียเปรียบ เช่น

1 การเสมอภาคกันในกฏหมาย

2 การไม่ถูกกีดกันในการประกอบอาชีพ

3 การได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ

4 การคุ้มครองโดยรัฐ และสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ

5 สิทธิแห่งความเสมอภาคและเท่าเทียม

6 สิทธิได้รับการศึกษา
   6.1 ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
   6.2 เข้าเรียนโรงเรียนในเฉพาะความพิการ
   6.3 เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ
   6.4 การศึกษานอกระบบเพื่อคนพิการ
   6.5 ได้รับการศึกษาในทุกระดับตามศักยภาพ

7 สิทธิด้านการอาชีพกฎหมายให้ความคุ้มครองที่จะให้คนพิการมีงานทำหรือประกอบอาชีพ โดยมิให้มีการเลือกปฏิบัติ เพราะเหตุแห่งสภาะทางกายภาพหรือสุขภาพ โดยกำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของกิจการจ้างคนพิการอย่างน้อยร้อยละ 1 ของคนปกติ และ
   7.1ได้รับบริการฝึกประกอบอาชีพจัดหางาน ประสานงานส่งต่อเข้าทำงานในสถานประกอบการต่าง ๆ
   7.2. สิทธิการขอกยืมเงินทุนประกอบอาชีพอิสระจากกองทุนฟื้นฟูศักยภาาพไม่เกินคนละ 40,000 บาท 

8 สิทธิในการมีล่ามภาษามือ คนพิการทางการได้ยินมีสิทธิได้รับบริการล่ามมือโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ดังนี้
   8.1 การใช้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข
   8.2 การสมัครงาน หรือ การติดต่อประสานงานด้านการประกอบอาชีพ
   8.3 การร้องทุกข์ การกล่าวโทษ หรือการเป็นพยานในชั้นพนักงานสอบสวน
   8.4 การประชุม สัมนา หรือการฝึกอบรม รวมทั้งดป็นผู้บรรยายโดยหน่วยงานภาครัฐหรืองค์กรเอกชน

9 สิทธิได้รับเครื่องช่วยความพิการ 
   9.1 การใช้สัตว์นำทาง
   9.2 ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์นำทา
   9.3 เครื่องช่วยความพิการที่นำติดตัว
   9.4.สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ
   9.5ได้รับค่ายกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าเช่า


การขอความช่วยเหลือของผู้พิการ สามารถติดต่อได้ดังนี้ 

ในเขต กรุงเทพมหานคร  ติดต่อ ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนทั้ง 12 เขต

ต่างจังหวัด ติดต่อ  
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ตั้งอยู่ที่ ศาลากลางทุกจังหวัด





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น