วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พรก.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (แก้ไขเพิ่มเติม) 2556

จากการรวบรวมข้อมูลของผู้พิการเบื่องต้น เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2556 หรือตาม link ข้างล่างนี้
(http://mre-tmac.blogspot.com/2013/11/blog-post_15.html) ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
เนื้อหาและรายละเอียดเพิ่มเติม อ่านได้จากหนังสือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ฉบับอ้างอิง (ปรับปรุงครั้งที่ 7)



พระราชบัญญัติ พ.ศ. 2550 ยังขาดมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ คนพิการยังไม่ได้รับความสะดวกในการรับบริการ การช่วยเหลือ คำแนะนำ และการบังคับใช้กฎหมาย จากหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน นายจ้าง และผู้ประกอบการ จึงจำเป็นต้องตรา พรบ.ส่งเสริมมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2556 นั่นหมายถึงระเบียบเกี่ยวกับงานคนพิการมีผลบังคับใช้แล้ว


การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ สามารถยื่นด้วยตัวเองได้ที่

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ชั้นที่1 อาคาร 60 ปี กรมประชาสงเคราะห์ 255 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 และสำนักงาน พมจ.ทุกจังหวัด  โทรศัพท์ 02-354-6501


อายุบัตรประจำตัวคนพิการ

ให้บัตรมีอายุ 8 ปีนับแต่วันที่ออกบัตร แต่ถ้าผู้พิการมีอายุครบ 60  ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือมีความเป็นพิการที่เห็นโดยชัด ให้ใช้บัตรนั้นต่อไปตลอดชีวิต

กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ 

เพื่อเป็นทุนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพคนพิการ การส่งเสริมและสงเคราะห์ช่วยเหลือคนพิการ และสามารถกู้ยืมได้

คุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงินกองทุนคนพิการ

1. เป็นผู้พิการที่จดทะเบียนเป็นผู้พิการ มีบัตรประจำตัวคนพิการ
2. อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 70 ปี ผู้พิการที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองก่อน
3.ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านอยู่ในท้องที่ที่ขอกู้ กรณีไม่ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่ต้องได้รับการรับรองจากเจ้าหน้าที่องค์กรท้องถิ่น หรือหนังสือรับรองจากเจ้าของบ้านเช่า หรือการเข้าพักอาศัยจากเจ้าของบ้านเช่า ซึ่งเช่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
4.ไม่เป็นผู้ค้างชำระหนี้กองทุน

คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การกู้เงินเพื่อปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย

1. มีบัตรประจำตัวคนพิการ
2. อาศัยในที่อยู่อาศัยนั้นติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ยกเว้นกรณีการย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ภายหลังเกิดการความพิการ
3.ที่อยู่อาศัยไม่มั่นคง หรือไม่เหมาะสมกับความพิการ
4.มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ
5.ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ

ในกรณีผู้พิการไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยแห่งนั้น จะมีหนทางกู้เงินกองทุนได้โดย

1. ต้องมีหลักฐานการให้ความยินยอมจากเจ้าของ หรือผู้ได้รับอำนาจจากเจ้าของ
2. ในกรณีบ้านเช่า อย่างน้อยต้องมีหลักฐานการเช่าบ้านที่ผู้พิการเช่าอยู่ ระยะเวลาเช่าเป็นเวลา 6 เดือนติดต่อกัน

สิทธิการหักลดหย่อนภาษีเงินได้ของผู้ดูแลคนพิการ

ผู้ดูแลคนพิการที่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ และมีชื่อในบัตรประจำตัวผู้พิการ มีสิทธิในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการ



นอกเหนือจากโรงพยาบาลรัฐบาล และหน่วยงานเอกชนที่ออกเอกสารรับรองความพิการแล้ว ยังมีโรงพยาบาลเอกชน  ที่สามารถออกเอกสารรับรองความพิการ ดังรายชื่อต่อไปนี้


ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
 พ.ศ.๒๕๕๐(ปรับปรุงครั้งที่ ๗)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น