วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3 ธันวาคม วันคนพิการสากล UNITED NATION DECADE OF DISABLED PERSONS




ความเป็นมาของวันคนพิการสากล

           นับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้ปี พุทธศักราช ๒๕๒๖-๒๕๓๕ เป็นทศวรรษคนพิการแห่งสหประชาชาติ หรือ UNITED NATION DECADE OF DISABLED PERSONS,1983-1992. ยังผลให้ประเทศต่างๆ รวมไปถึงองค์การต่างๆในทุกภูมิภาคทั่วโลก ได้ตื่นตัวในการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถถาพคนพิการอย่างกว้างขวาง มีการติดต่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศองค์การสมาชิกอย่างเป็นรูปธรรม การเสนอแนะประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ให้ใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์สูงสุง การป้องกันความพิการ การสนองความต้องการของคนพิการ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ในทุกรูปแบบต่อประเทศกำลังพัฒนา ตลอดจนรณรงค์เรื่องสิทธิ และความเท่าเทียมกันในสังคนเพื่อคนพิการ รวมไปถึงมรการจัดกิจกรรมคนพิการ เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนา ทักษะการช่วยตัวเอง การเพิ่มพุนสมรรถภาพทางกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของคนพิการ และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกัน ระหว่างคนพิการและคนปกติ
          ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิค หรือ ESCAP ได้จัดให้มีสมัยการประชุมครั้งที่ ๔๘ ขึ้น  ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่ประชุมได้มีมติประกาศให้ปีพุทธศักราช ๒๕๓๖-๒๕๔๕ เป็นทศวรรษคนพิการภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค หรือรู้จักกันในนามสากลทั่วโลกว่า "Asian and Pacific Decade of Disabled Persons, 1993-2002" โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาคนพิการในทุกๆ ด้าน ทั่วทุกประเทศในแถบเอเชียและแปซิฟิค ทั้งในด้านการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ส่งเสริมการฝึกอบรมอาชีพและจัดหาสถานประกอบการรองรับแรงงานคนพิการ สนับสนุนด้านการศึกษา ตลอดจนผลักดันให้คนพิการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเต็มที่ ซึ่งก็จะช่วยให้คนพิการมีโอกาสและมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันกับบุคคลทั่วไปในสังคม

องค์การสหประชาติได้ส่งเสริมคนพิการในด้านต่างๆ มากมายด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ส่งเสริมให้คนพิการได้มีโอกาสอยู่ร่วมกับคนในสังคมและมีโอกาสได้รับการศึกษาในด้านต่างๆ เช่นเดียวกับคนปกติ และให้คนพิการมีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายซึ่งสามารถจำแนกออกมาในด้านต่างๆ อาทิเช่น ในด้านสังคม  คนพิการสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมต่างๆ ได้สามารถช่วยเหลือตนเองได้  และทำตนไม่ให้เป็นภาระแก่คนในสังคมนั้น  ซึ่งนานาประชาชาติได้มอบ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้คนพิการได้ช่วยเหลือตนเอง เช่น การคิดค้นประดิษฐ์หุ่นยนต์สุนัขเพื่อช่วยคนตาบอดในการเดินทาง หรือการประดิษฐ์เครื่องช่วยฟังสำหรับคนหูหนวก เป็นต้น ซึ่งช่วยให้คนพิการเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมทั้งประดิษฐ์ขาเทียมเพื่อคนพิการทางขาอีกด้วย

              นอกจากงานในด้านสังคมแล้ว ในด้านอาชีพก็เช่นกัน นานาประชาชาติได้เล็งเห็นความสำคัญในการประกอบอาชีพของคนพิการด้วย เพื่อให้คนพิการได้นำเงินมาจุนเจือตนเองและครอบครัว จึงได้สนับสนุนคนพิการในด้านต่างๆ เช่น งานหัตถกรรม เป็นต้น ขายล๊อตเตอรี่ พนักงานรับโทรศัพท์ งานช่างต่างๆ เช่น ช่างไม้ ช่างกระจก เป็นต้น ทำให้คนพิการได้มีโอกาสประกอบอาชีพต่างๆ ได้มากขึ้น ส่วนงานที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นนานาชาติก็ส่งเสริมได้เช่นเดียวกัน เพื่อให้คนพิการได้นำเอาวิชาความรู้ไปใช้ในด้านการประกอบอาชีพและป้องกันการถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพ ซึ่งได้ให้โอกาสในการศึกษาของคนพิการในด้านต่างๆ เช่น การให้ทุนเกี่ยวกับการศึกษาแก่คนพิการ และการผลิตอุปกรณ์ทางการศึกษาแก่คนพิการต่างๆ เช่น การผลิตเครื่องเรียงสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และสแกนเนอร์ของคนตาบอด การผลิตลูกคิดสเลตและสไตลัสสำหรับคนตาบอด ทำให้คนตาบอดศึกษาหาความรู้ได้สะดวกขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังมีการจัดแปลหนังสือเรียนของคนปกติมาพิมพ์เป็นหนังสือเรียนเป็นตัวอักษรเบลล์แก่คนตาบอดอีกด้วย ทางด้านกีฬาก็เช่นกันนานาประชาชาติก็ได้ส่งเสริมและให้โอกาสเพื่อให้คนพิการได้แสดงความสามารถในด้านกีฬาเช่นกัน ตั้งแต่การแข่งขันกีฬาระดับประเทศ ระดับโลกตามลำดับ ซึ่งนานาประชาชาติได้ให้โอกาสในด้านกีฬาต่างๆ เช่น การจัดงานแข่งขันเฟสปิคเกมส์ การว่ายน้ำคนพิการ วิ่งมาราธอนคนพิการ

 จากการสำรวจทางสถิติขององค์การสหประชาชาติพบว่า กลุ่มประเทศแถบเอเชีย และแปซิฟิคนี้มีจำนวนประชากรที่เป็นบุคคลพิการมากที่สุดในโลก ทั้งนี้สาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากปัญหาของความยากจน นอกเหนือจากนั้นก็เป็นเพราะสาเหตุของความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติ อุบัติเหตุและผลของสงคราม และด้วยความพิการทุพพลภาพนี้เองที่เริ่มแพร่มากขึ้นทุกขณะ ทางองค์การสหประชาชาติจึงเร่งตระหนักที่หาหนทางวิธีการแก้ไขป้องกันโดยเร็ว ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะลดจำนวนของผู้พิการลงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยทางคณะกรรมธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค ก็ได้มีแนวนโยบายที่จะเร่งผลักดันแหนส่งเสริมคนพิการให้อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของแต่ละชาติ ตั้งคณะกรรมการประสานงานให้ความร่วมมือช่วยเหลือคนพิการและองค์การต่างๆ ที่จะร่วมมือสร้างชีวิตคนพิการให้ดีขึ้น ทั้งในระดับชาติและระดับสากล ตลอดจนเร่งพัฒนาส่งเสริมให้คนพิการทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้ได้รับการฟื้นฟูบำบัดรักษา การศึกษา การฝึกฝีมือและอาชีพหรือแม้กระทั่งมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ทั้งทางการกีฬา วัฒนธรรมประเพณีและสิ่งแวดล้อม


เพื่อสร้างกระแสความเข้าใจต่อสิทธิของคนพิการ อันเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่ถูกละเมิดสิทธิมาอย่างยาวนาน องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ ปี 2524 เป็น "ปีคนพิการสากล" ส่งผลให้ทั่วโลกตระหนักถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของคนพิการ และตื่นตัวในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ รวมถึงสนับสนุนการสร้างเสริมศักยภาพของคนพิการ การเปิดโอกาสและสนับสนุนคนพิการให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป เพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตด้วยการพึ่งตนเองมากที่สุด


ความหมายของคนพิการ
คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีความสามารถถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคมได้โดยวิธีการทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้และมีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป (ความหมายตาม ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546 ไว้ดังนี้)
ประเภทของความความพิการ
1.1 พิการทางการมองเห็
1.2 พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย
1.3 พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว
1.4 พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
1.5 พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู
1.6 พิการซ้ำซ้อน
 ในปี 2525 องค์การสหประชาชาติ จึงได้สถาปนาให้วันที่ 3 ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันคนพิการสากล" เพื่อรำลึกถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2525 ที่สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติรับรองแผนปฏิบัติการโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ (World Programme of Action concerning Disabled Persons) พร้อมทั้งสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ เฉลิมฉลองวันคนพิการสากลทุกปี เพื่อขับเคลื่อนปฏิบัติการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ให้เกิดการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยอยู่บนฐานของสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม และได้มาตรฐานในระดับสากล อนึ่ง ตั้งแต่ปี 2530 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดหัวข้อวันคนพิการในแต่ละปีด้วย เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ศักด์ศรีและความยุติธรรมเพื่อคนทั้งมวล ทุกเรื่องคนพิการต้องมีคนพิการ เป็นต้น

ส่วนคำขวัญของ วันคนพิการสากล ปี 2552 คือ "ทำให้เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษเป็นเป้าหมายเพื่อคนทุกคน ด้วยการเสริมพลังอำนาจแก่คนพิการ และชุมชนคนพิการทั่วโลก" 

ขอบคุณข้อมูลจาก 

http://www.lib.ru.ac.th/journal/dec/dec03-DisabledDay.html
http://hilight.kapook.com/view/44143