วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เรื่อง หนังสือระบุข้อตกลงระหว่างศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ฯ กับองค์กร APOPO

หนังสือฉบับนี้ออกโดยศูนย์การทุ่นระเบิดแห่งชาติ ฯ ให้แก่องค์กร APOPO แผนกปฏิบัติการทุ่นระเบิด
โครงการในประเทศไทย เพื่อที่จะยืนยันว่าบันทึกความเข้าใจระหว่างศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ฯ ประเทศไทย  และองค์กร APOPO ครอบคลุมห้วงเวลาระหว่างวันที่ ๑ ม.ค.๕๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธ.ค.๕๖ อยู่ในระหว่างขั้นตอนการดำเนินการพิจารณาตรวจสอบ
      เมื่อปี ๕๕ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ฯ และองค์กร APOPO ร่วมกันลงนามในบันทึกความเข้าใจในการปฏิบัติการทุ่นระเบิด สาเหตุที่บันทึกความเข้าใจฉบับที่อยู่ในระหว่างขออนุมัตินี้ใช้เวลาในการจัดทำและลงนามนานกว่ากระบวนการในอดีตเนื่องจากการเพิ่มวิธีการสำรวจแบบใหม่ทั้งที่ไม่ใช่ทางเทคนิคและทางเทคนิค ซึ่งเรียกว่า การปรับลดพื้นที่ (Land Release) และแนวคิดการปฏิบัติงานนี้ได้รับการแนะนำเข้าสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก  ดังนั้น การอภิปรายและจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาที่เหมาะสมในบันทึกความเข้าใจนี้ใช้เวลาหลายเดือน ทั้งยังต้องได้รับความเข้าใจและความเห็นชอบจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย บัดนี้ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติฯ ได้ส่งเรื่อง ขออนุญาตให้ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ฯ ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับองค์กร ฯ ไปยังสำนักงานพระธรรมนูญทหาร ฯ เพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อความในร่างบันทึกความเข้าใจ จากนั้นจะส่งเรื่องตามสายการบังคับบัญาชาต่อไป เพื่ออนุมัติให้อำนาจการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ดังกล่าวแก่ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ฯ 
     ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ฯ ได้จัดทำหนังสือระบุข้อตกลง ฉบับนี้ ให้แก่องค์กร APOPO เป็นการชั่วคราวก่อนที่จะลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับใหม่ ระหว่างศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ฯ และองค์กร APOPO ที่ครอบคลุมห้วงเวลา ๑ ม.ค.๕๖ ถึง ๓๑ ธ.ค.๕๖ นอกจากนั้นแล้ว หนังสือระบุข้อตกลงฉบับนี้จุดประสงค์เพื่อเป็นหักฐานว่าองค์กร APOPO แผนกปฏิบัติการทุ่นระเบิด โครงการในประเทศไทยยังงดำเนินงานเป็นภาคีกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ฯ สำหรับการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดเพื่อมนุษธรรม สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยสนับสนุนมาก่อนหน้านี้ ภายใต้ข้อตกลงและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เหมือนกับบันทึกความเข้าใจฉบับก่อนหน้าได้แก่บันทึกความเข้าใจ ปี ๒๕๕๕
                                                         ประกาศ ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖
                                                                 (ลงนาม)       พลโท     สีหนาท     วงศาโรจน์
                                                                             หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความรู้เรื่องการแจ้งเตือนและให้ความรู้เกี่ยวกับทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิด

การแจ้งเตือนและให้ความรู้เกี่ยวกับทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิด 

มีหลักสำคัญ ๆ พื้นฐาน 3 ประการ

1. จะต้องแนะนำให้เป้าหมายมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุระเบิดขั้นต้น

2. จะต้องชี้แนะให้เป้าหมายเล็งเห็นความสำคัญ และอันตรายที่จะได้รับจากวัตถุระเบิด

3. จะต้องอธิบายแนะนำสื่อและสัญลักษณ์ของทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดชนิดต่าง ๆ


1. ข้อควรห้ามของกลุ่มเป้าหมายกระทำต่อวัตถุระเบิดมี 9 ข้อ ดังนี้

      1.1 ห้ามจับ คือการไม่ไปแตะต้อง ไม่ไปสัมผัส วัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิดของทางราชการทหาร

      1.2 ห้ามเล่น คือไม่นำวัตถุระเบิดของทางราชการทหารไปเล่นในลักษณะรูปแบบต่าง ๆ

      1.3 ห้ามตี หรือ เคาะ คือไม่นำเอาวัตถุอื่น มาเคาะเล่น หรือนำเอาวัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิดไปเคาะกับวัตถุอื่น

      1.4 ห้ามโยนหรือขว้าง  คือการไม่นำเอาวัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิดของทางราชการทหารไปขว้างหรือโยนเล่นในรูปแบบลักษณะต่าง ๆ

      1.5 ห้ามเคลื่อนย้าย คือการไม่นำเอาวัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิดของทางราชการทหารเคลื่อนที่ไปจากที่เดิม ไม่ว่าจะใช้วิธีการยกหรือหาม เพราะทุ่นระเบิดหรือกับระเบิดที่ผู้วางไว้ เขาได้ใส่ชนวนกันเขยื้อน
ไว้เพื่อป้องกันเขยื้อนไว้เพื่อป้องกันการเก็บกู้ของฝ่ายตรงข้าม

      1.6 ห้ามมีหรือสะสมวัตถุระเบิด และส่วนประกอบต่าาง ๆ ของระเบิดไว้ครอบครอง เพราะการมีไว้ครอบครองซึ่งอาวุธ มีความผิดตามกฏหมายอาญา ที่ต้องได้รับโทษทางกฎหมาย

      1.7 ห้ามนำวัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิดของทางทหาร ไปทำการระเบิดปลา เพราะเป็นอาวุธที่ร้ายแรงซึ่งอาจไม่ทำลายชีวิตปลาอย่างเดียว มันอาจจะทำลายชีวิตของผู้ใช้ระเบิดและผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณนั้นด้วย

      1.8 ห้ามวัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิดของทางทหาร ไประเบิดเพื่อขุดหลุม เพราะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้ใช้วัตถุระเบิดนั้น และคนรอบข้างอีกด้วย

      1.9 ห้ามเพ่งดูหรือมองวัตถุระเบิดโดยตรง เมื่อสงสัยซอกมุมหรือรูต่าง ๆ ภายในวัตถุระเบิด เพราะเวลาที่เราเพ่งดูระเบิดอยู่นั้น ระเบิดอาจจะใกล้ทำงานอยู่แล้ว หากเราไปสัมผัสเข้า ระเบิดก็จะทำงานทำให้ผู้นั้นเกิดหูหนวก ตาบอดได้


การแนะนำเป้าหมายมีความรู้และความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุระเบิด
ควรระวัง 6 ประการ

      1. ขณะที่ทำงานอยู่ในสนามหรือทุ่งนา ควรใช้พลั่วไม่ควรใช้เสียม เพราะพลั่วใช้สำหรับตักแต่เสียมใช้สำรับขุด โดยเแพาะการใช้พลั่วใช้สำหรับถากถางหญ้าและตักดินจะลึกลงไปในดินไม่มากนัก แต่การใช้เสียมจะใช้แรงขุดมากและลึกลงไปในพื้นดินมากกว่าพลั่ว อาจจะไปกระทบวัตถุระเบิดที่ฝังอยู่ในดิน ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

      2. เมื่อท่านต้องการตักดินหรือขุดดินไม่ควรลึกไปในดินเกิน 20 ซม. เพราะทุ่นระเบิดที่ฝังไว้ในดินส่วนมากจะทำการฝังลึกลงไปมากกว่า 20 ซ.ม. เพื่อป้องกันการตรวจค้นจากฝ่ายตรงข้ามในการเก็บกู้ และการเห็นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของผิวดิน เมื่อมีภัยธรรมชาติเกิดขึ้น

      3. เมื่อท่านทำงานในสนามหรือทุ่งนา เมื่อพบเห็นหรือสังเกตเห็นว่ามีวัตถุระเบิดฝังอยู่ในบริเวณนั้น ให้คิดว่าจะต้องมัวัตถุระเบิด หรือทุ่นระเบิดอยู่ในบริเวณนัน้อีกหลายลูกที่ฝังอยู่ในดิน เพราะการวางทุ่นระเบิดและกับระเบิดจะวางแบบมาตรฐาน  หรือแบบกระจัดกระจายได้

      4. ระมัดระวังเมื่อต้องใช้ไปเผาพื้นที่รกพงป่า เมื่อทำการเพาะปลุก เมื่อจุดไฟเผาแล้ว ให้ออกห่างจากพื้นที่นั้นให้พ้นระยะอันตราย และหลบซ่อนตัวเข้าที่กำบัง ดดยใช้มูลดิน, ก้อนหินใหญ่ หรือต้นไม้ใหญ่ในยริเวณนั้นเป็นที่กำบัง

      5. ถ้าไม่มีที่กำบัง ให้ยืนอยู่ห่างจากไที่กำลังลุกไหม้ ในระยะที่ปลอดภัยจากการระเบิดของลูกระเบิด คือระยะรัศมีประมาณ ไม่ต่ำกว่า 300 เมตร

      6. เมื่อต้องการขุดเจาะดิน เพื่อตอกเสาเข็มหรือปักหมุด ในการทำหลักเขตหรือการการก่อสร้าง ตรวจดูให้แน่ใจว่าบริเวณที่จะทำการก่อสร้างนั้น ไม่มีวัตถุระเบิดหรือทุ่นระเบิด