ภาพวัตถุระเบิดอากาศสมัยสงคราโลกครั้งที่ 2 พบที่บ่อน้ำข้างโรงงาน จ.ชลบุรี ขอบคุณภาพจาก https://www.google.co.th/search?q=ภาพระเบิดอากาศ+พบที่ชลบุรี |
จากกรณี กรมสรรพาวุธทหารอากาศ จัดชุดทำลายวัตถุระเบิด (EOD) ตรวจและทำลายระเบิดขนาด ๕๐๐ ปอนด์ ที่ตรวจพบบริเวณย่านสถานีรถไฟบางซื่อ ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง เบื้องต้นพบว่า ภายในบรรจุ TNT ที่ยังมีความสมบูรณ์ โดยเจ้าหน้าที่ EOD ของกองทัพอากาศ ทำการเก็บกู้และทำลายในพื้นที่ทำลายวัตถุระเบิดของกองทัพอากาศ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๗ เวลาประมาณ ๑๙.๒๐ น. พนักงานสอบสวน สถานีรถไฟนพวงศ์ ได้รับแจ้งจากคนงานก่อสร้าง บริเวณสถานที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง แขวงและเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พบวัตถุระเบิดขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒ นิ้ว ยาว ๔๗ นิ้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้แจ้ง ชุด EOD หรือหน่วยทำลายวัตถุระเบิดของกองทัพอากาศ เข้าทำการตรวจสอบ จากการเก็บกู้พบว่าเป็นวัตถุระเบิด ก่อนจะเก็บกู้ออกจากที่เกิดเหตุ และทำลายเรียบร้อย เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๗
อนึ่ง เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ทำการทิ้งระเบิดทางอากาศ ในพื้นที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร จำนวนมาก อาทิ บริเวณย่านสถานีรถไฟบางซื่อ ย่านโรงพยาบาลศิริราช สถานีรถไฟบางกอกน้อย ย่านสะพานพุทธ สะพานพระราม ๖ ฯลฯ และอาจจะยังมีวัตถุระเบิดหลงเหลือในพื้นที่ เพื่อความปลอดภัยหากมีการพบเห็น ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อประสานในการตรวจค้นและทำลาย อย่าดำเนินการเอง เพราะอาจจะเกิดอันตราย
ร้ายแรงได้
กองทัพอากาศ ขอประชาสัมพันธ์ข้อสังเกตและแนวทางปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัยว่าจะเป็นระเบิด ดังนี้ (ในเขตกองทัพอากาศและพื้นที่ใกล้เคียง โทร.๐ ๒๕๓๔ ๓๕๓๕)
การปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม คอนโดฯ
บ้านเช่า ฯลฯ
๑. ตรวจสอบหนังสือเดินทาง ตรวจดูรูป บันทึกหมายเลขหนังสือเดินทาง วัน เดือน ปีเกิด และสัญชาติของผู้มาเข้าพัก
๒. พนักงาน รปภ. หมั่นตรวจดูอาคารสถานที่และบันทึกหมายเลข รถเข้า – ออก หรืออาจเห็นคนต่างชาติ หรือผู้ต้องสงสัยเดินสำรวจ ถ่ายรูป หรือ VDO ต้องแจ้งให้ผู้จัดการทราบ เพื่อตรวจสอบว่าพักอยู่ห้องใด
๓. พนักงานทำความสะอาดห้องพัก อาจเห็นเศษสายไฟฟ้า นาฬิกาปลุก ถ่านไฟฉาย หนังสือเกี่ยวกับวัตถุระเบิด แผนที่ แผนผัง ต้องแจ้งผู้จัดการ เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ
การปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร และดิสโก้เทค
๑. หากพบชาวต่างชาติเข้ามาเดินเที่ยว นั่งหลบมุมสั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ แต่ไม่ดื่มหรือดื่มเล็กน้อย มีท่าทางสังเกตสถานที่อย่างผิดปกติน่าสงสัย ควรแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ
๒. พนักงานหน้าร้าน สังเกตบุคคลฝั่งตรงข้ามร้าน บริเวณรอบ ๆ ร้าน มีผู้ใดมาสังเกตการณ์ในลักษณะตรวจสอบสถานที่โดยถ่ายรูป หรือ VDO หรือไม่ ถ้ามีให้แจ้งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ
๓. หมั่นสังเกตรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ที่มาจอดทิ้งไว้หน้าร้านเป็นเวลานาน หมั่นตรวจถังขยะ กระถางต้นไม้หน้าร้าน หรือบริเวณใกล้เคียงว่ามีวัตถุต้องสงสัยมาวางซุกซ่อนหรือไม่
๑. ตรวจสอบหนังสือเดินทาง ตรวจดูรูป บันทึกหมายเลขหนังสือเดินทาง วัน เดือน ปีเกิด และสัญชาติของผู้มาเข้าพัก
๒. พนักงาน รปภ. หมั่นตรวจดูอาคารสถานที่และบันทึกหมายเลข รถเข้า – ออก หรืออาจเห็นคนต่างชาติ หรือผู้ต้องสงสัยเดินสำรวจ ถ่ายรูป หรือ VDO ต้องแจ้งให้ผู้จัดการทราบ เพื่อตรวจสอบว่าพักอยู่ห้องใด
๓. พนักงานทำความสะอาดห้องพัก อาจเห็นเศษสายไฟฟ้า นาฬิกาปลุก ถ่านไฟฉาย หนังสือเกี่ยวกับวัตถุระเบิด แผนที่ แผนผัง ต้องแจ้งผู้จัดการ เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ
การปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร และดิสโก้เทค
๑. หากพบชาวต่างชาติเข้ามาเดินเที่ยว นั่งหลบมุมสั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ แต่ไม่ดื่มหรือดื่มเล็กน้อย มีท่าทางสังเกตสถานที่อย่างผิดปกติน่าสงสัย ควรแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ
๒. พนักงานหน้าร้าน สังเกตบุคคลฝั่งตรงข้ามร้าน บริเวณรอบ ๆ ร้าน มีผู้ใดมาสังเกตการณ์ในลักษณะตรวจสอบสถานที่โดยถ่ายรูป หรือ VDO หรือไม่ ถ้ามีให้แจ้งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ
๓. หมั่นสังเกตรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ที่มาจอดทิ้งไว้หน้าร้านเป็นเวลานาน หมั่นตรวจถังขยะ กระถางต้นไม้หน้าร้าน หรือบริเวณใกล้เคียงว่ามีวัตถุต้องสงสัยมาวางซุกซ่อนหรือไม่
ข้อสังเกต
๑. สิ่งของวางอยู่ในที่ที่ไม่ควรอยู่ เช่น เป้ กระเป๋า ถุง กล่อง ฯลฯ หากสอบถามหาเจ้าของแล้ว ไม่มีผู้แสดงตน ให้สงสัยว่าเป็นวัตถุอันตราย
๒. เป็นวัตถุที่มีลักษณะภายนอกผิดปกติจากรูปเดิม เช่น สีที่แตกต่างจากความเป็นจริง กล่องปิดผนึกไม่เรียบร้อย หรือมีรอยยับบริเวณที่ปิดผนึก
๓. เป็นวัตถุที่ไม่เคยพบเห็น ณ ที่นั้นมาก่อน มีส่วนประกอบของสายไฟ แบตเตอรี่ นาฬิกา หรือ โทรศัพท์
๔. เมื่อพบเห็น ห้ามจับต้อง หยิบยก เคลื่อนย้าย หรือทำให้เคลื่อนไหวโดยเด็ดขาด
๕. ตั้งสติ ควบคุมอารมณ์ แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที เพื่อดำเนินการตรวจพิสูจน์ และเก็บกู้ โดยสามารถติดต่อ สายด่วนเพื่อขอความช่วยเหลือได้ที่
- โทร.๑๙๑ ศูนย์วิทยุตำรวจนครบาล
- โทร.๑๓๗๔ สายด่วน กอ.รมน.
- โทร.๑๕๕๕ กรุงเทพมหานคร
- โทร.๑๑๑๑ สายด่วนภาครัฐ
๖.
จดจำลักษณะทั่วไปของวัตถุต้องสงสัย เพื่อเป็นข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ เช่น ขนาด รูปร่าง ลักษณะบ่งบอกอื่น ๆ เช่น
มีเสียงการทำงาน มีสายไฟฟ้า
๗. หากสามารถกระทำได้ ควรบันทึกภาพเมื่อพบเห็นผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้กระทำ หรือจงใจวางสิ่งของต้องสงสัยนั้นส่งเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการต่อไป
๘. หลังจากแจ้งเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับวัตถุต้องสงสัยแล้ว ให้รีบออกจากพื้นที่ที่พบวัตถุุุูุุุต้องสงสัยไม่น้อยกว่า ๑๐๐ – ๔๐๐ เมตร และขอให้รอเพื่อให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด
๙. กรณีเจ้าของกิจการ ร้านค้า ถูกข่มขู่วางระเบิดทางโทรศัพท์ ให้โทรแจ้ง ๑๑๐๐
๗. หากสามารถกระทำได้ ควรบันทึกภาพเมื่อพบเห็นผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้กระทำ หรือจงใจวางสิ่งของต้องสงสัยนั้นส่งเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการต่อไป
๘. หลังจากแจ้งเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับวัตถุต้องสงสัยแล้ว ให้รีบออกจากพื้นที่ที่พบวัตถุุุูุุุต้องสงสัยไม่น้อยกว่า ๑๐๐ – ๔๐๐ เมตร และขอให้รอเพื่อให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด
๙. กรณีเจ้าของกิจการ ร้านค้า ถูกข่มขู่วางระเบิดทางโทรศัพท์ ให้โทรแจ้ง ๑๑๐๐