วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

ระเบิดมรณะ ! ! !

เกิดโศกนาฎกรรมกลางกรุงเทพเมื่อวานนี้ที่ร้านรับซื้อของเก่า เขตลาดปลาเค้า  ซอย72 
แขวงอนุเสาวรีย์เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร




ระเบิดอากาศที่พบในที่เกิดเหตุ
เอื้อเฟื้อภาพ โดย :
 https://www.google.co.th/search?q=รูประเบิดพวง


เอื้อเฟื้อภาพโดย:wwwspringnewtv.tv

หน่วย EOD ชี้ว่าเป็นระเบิดอากาศ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  สาเหตุที่ระเบิดยังไม่ทำงานเป็นเพราะว่าระเบิดน่าจะตกลงไปในน้ำ หรือโคลนเลน ทำให้ระเบิดด้านแต่ดินระเบิดและวงจรยังคงสมบูรณ์พร้อมจะทำงานตลอดเวลา

ระเบิดทำงานอย่างไร?

ระเบิดประเภทนี้ถ้าตกพิ้นแรง ๆ หรือโดนกระแทกแรง ๆ ยังไม่เป็นไร แต่ถ้าตัดและเจียด้วยความร้อนสูง โดยเฉพาะตัดเจียด้วยแก๊ส ก็จะทำให้ระเบิดทำงานทันที











รัศมีการทำลายล้างประมาณ 500 เมตรในที่โล่ง สามารถทำลายสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ได้

เอื้อเฟื้อภาพโดย   :  https://www.facebook.com/COED.TMAC

เอื้อเฟื้อภาพโดย : https://www.facebook.com/COED.TMAC
เอื้อเฟื้อภาพโดย : https://www.facebook.com/COED.TMAC

เอื้อเฟื้อภาพโดย : https://www.facebook.com/COED.TMAC

รูปร่างหน้าตาระเบิดอากาศ

ระเบิดพวงหรือระเบิดอากาศ
เอือเฟื้อภาพโดย https://www.google.co.th

                         ข้อมูลเพิ่มเติม http://mre-tmac.blogspot.com/2013/06/cluster-boom.html

เหตุการณ์ครั้งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากการระเบิด จากอดีตมีหลายเหตุการณ์ที่ผู้ได้รับบาดเจ็บและถึงเสียชีวิตจากการสัมผัสวัตถุระเบิดโดยตรง หรือจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เกิดการสูญเสีย ครั้งนี้เป็นการสูญเสียทั้งชีวิตและอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหายมากกว่า 20 หลังคาเรือน จะด้วยเหตุใดก็ตามเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย วัตถุคล้ายระเบิด อย่าได้สัมผัสโดยตรง รีบแจ้งหน่วยเก็บกู้ระเบิด หรือเจาหน้าที่ตรวจ ทันที

การปฏิบัติตนเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย

ข้อสังเกตุ

1. สิ่งของวางอยู่ในที่ที่ไม่ควรอยู่ เช่น เป้ กระเป๋า ถุง กล่อง หากสอบถามหาเจ้าของแล้ว ไม่มีใครแสดงตน ให้สงสัยว่าเป็นวัตถุอันตราย

2. เป็นวัตถุที่มีลักษณะภายนอกผิดไปจากรูปเดิม เช่น สีแตกต่างไปจากความเป็นจริง กล่องปิดผนึกไม่เรียบร้อย หรือมีรอยยับบริเวณที่ปิดผนึก

3. เป็นวัตถุที่ไม่เคยพบมาก่อน ณ ที่นั้นมาก่อน มีส่วนประกอบของสายไฟ แบตเตอรี่ นาฬิกา หรือโทรศัพท์

4. เมื่อพบเห็น ห้ามจับต้อง ห้ามหยิบ ห้ามสัมผัส ห้ามเคลื่อนย้าย หรือทำให้เคลื่อนไหวโดยเด็ดขาด

5. ตั้งสติ คววบคุมอารมณ์ แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อดำเนินการตรวจพิสูจน์ และเก็บกู้

สายด่วนเพื่อขอความช่วยเหลือ

- โทร.๑๙๑ ศูนย์วิทยุตำรวจนครบาล

- โทร.๑๓๗๔ สายด่วน กอ.รมน.

- โทร.๑๕๕๕ กรุงเทพมหานคร 











ไม่มีความคิดเห็น: