วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ระเบิดพวง (Cluster Boom)





















ระเบิดพวง(Cluster Boom)

ระเบิดพวง คลัสเตอร์ บอม (CMC) คือ อาวุธชนิดหนึ่งที่ยิงจากปืนใหญ่ หรือทิ้งจากเครื่องบิน สามารถแตกกระจายกลางอากาศเป็นระเบิด หรือกระสุนขนาดเล็กจำนวนมากมาย คลอบคุลมพื้นที่การทำลายล้างเป็นวงกว้าง แต่บ่อยครั้งที่ระเบิดขนาดเล็กเหล่านี้ระเบิดไม่หมดโดยทันที จึงเหลือตกค้างนานหลายปี เป็นอันตรายต่อพลเรือน โดยเฉพาะเด็ก

คลัสเตอร์ บอม ระเบิดเมื่อทิ้งลงมาจากเครื่องบินเพียง 1 ลูก จะแตกออกเป็นระเบิดย่อย ๆ อีกหลายลูก กระจายฝังตัวรอคอยเหยื่ออย่างอดทนอยู่เป็นวงกว้าง

ในภูมิภาคเอเซีย ระเบิดพวงมีปริมาณมากในประเทศลาว และ เวียดนาม คนรุ่นใหม่หรือแม้แต่คนรุ่นเก่า แทบไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีระเบิดพวงในพื้นที่ประเทศลาวมากกว่า 2 ล้านตัน และ 1 ใน 4 ของปริมาณระเบิดนั้นถูกทิ้งใส่พื้นที่ราว ๆ 17,000 ตารางกิโลเมตร

พื้นที่ที่ราบสูงทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาว ติดกับชายแดนด้านตะวันตกของเวียดนามนั้นคือ แขวงเชียงขวาง ถูกทิ้งระเบิดแบบปูพรม ไม่มีหมู่บ้านไหนรอดพ้นจากอำมหิตที่โปรยลงมาจากท้องฟ้า ผู้คนถูกระเบิดจำนวนมหาศาลต้องอพยพหนีจากบ้านเรือนไปอาศัยอยู่ตามถ้ำ เพื่อเอาชีวิตรอด

ผลพวงของสงคราม มีอิทธิพลสูงมากในหลายๆ ด้าน ส่งผลต่อร่างกาย และ จิตใจของผู้เกี่ยวข้อง แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานหลายปีแล้วก็ตาม แต่บาดแผลที่ฝังอยู่ในจิตใจของผู้สูญเสียอวัยวะ ยากนักที่จะลืม

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Voice of Life (เสียงแห่งชีวิต)

เอื้อเฟื้อภาพจาก
องค์กรพันธมิตรแห่งประเทศญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการกู้ระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (JAHDS)


ผู้คนจำนวนมากต่างรู้สึกประหลาดใจกับข้อเท็จจริงที่ว่า ประเทศไทยเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วย 
"ทุ่นระเบิด" แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เห็นได้ชัดเจนก็ตามมีการตรวจสอบพบทุ่นระเบิดฝังอยู่ตามจังหวัดแนวชายแดนของประเทศไทยที่มีพื้นที่ติดกับประเทศลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ซึ่งทุ่นระเบิดเหล่านี้เป็นผลมาจากการต่อสู้ด้านอุดมการณ์ระหว่างบ้านเมือง กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ ในสงครามอินโดจีน รวมทั้งปัญหาการต่อสู้กันตามแนวตะเข็บชายแดน ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ของประเทศเพื่อนบ้าน



จากการสำรวจขั้นที่ 1 ด้านผลกระทบจากทุ่นระเบิด ซึ่งจัดทำโดย NPA (Norwegian People's Aid Thailand) เมื่อปี 2553 มีการยืนยันว่าทุ่นระเบิดส่วนมากอยู่ในสภาพใช้การได้ โดยสนามทุ่นระเบิดอยู่ภายในรัศมี 30 กิโลเมตร ห่างจากชายแดนของประเทศกัมพูชา ลาว และ พม่า



ขณะมีการสำรวจพบว่ามีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  จากสนามทุ่นระเบิด ประมาณ 3,500 คน ตัวเลขความสูญเสียดังกล่าว ได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้มีการรณรงค์การติดป้ายแจ้งเตือนภัยต่างๆ และ ยังมีการส่งเสริมให้ความรู้ การแจ้งเตือนต่าง ๆที่เกี่ยวกับทุ่นระเบิดให้กับชาวบ้านได้รับรู้ถึงภัยอันตรายจากทุ่นระเบิดอย่างต่อเนื่อง



เนื่องจากประเทศไทย ยังมีพื้นที่ทุ่นระเบิดอยู่มากมาย ยังคงมีผลกระทบต่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน อุบัติเหตุ การสูญเสีย ก็ยังคงมีอยู่ (ตามภาพ) เนื่องจากชาวบ้านจำนวนไม่น้อย ยังคงต้องออกไปประกอบอาชีพ ทำมาหากิน ไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการได้รับอุบัติเหตุ  อย่างไรก็ตามยังมีความห่วงใยจากทางการ ได้นำป้ายแจ้งเตือน และ นำเจ้าหน้าให้ความรู้เกี่ยว กับอันตรายจากวัตถุระเบิด ถ้าท่านมองเห็น และสังเกตุเห็นป้ายสัญญลักษณ์แจ้งเตือน ขออย่าได้เข้าไปในพื้นที่บริเวณดังกล่าว  เพราะนั่นหมายถึงท่านกำลังเดินเข้าหาอันตราย และ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ ทำให้สูญเสียอวัยวะ และถึงขั้นเสียเสียชีวิตได้



จากภาพ : ทัศนียภาพของทุ่งนา และ หมู่บ้าน ที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านบรรยายกาศเงียบ สงบ แต่ใครจะรู้บ้างว่ามีสนามทุ่นระเบิดใกล้กับที่พักอาศัย ทำให้ประชากร ไม่ว่าจะเป็น เด็ก คนสูงอายุ ได้รับผลกระทบโดยครง ใครบ้างจะคิดว่าที่แห่งนี้จะมีเรื่องเศร้าเกิดขึ้นกับคนที่นี่มากมาย ทุ่นระเบิดเพียงชิ้นเดียวที่ถูกฝังไว้ใต้ดิน จะสามารถทำลายชีวิตผู้คนอย่างไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว


ความปวดร้าวทางร่างกาย ได้เลือนหายไปแล้ว  แต่สิ่งที่เขาสูญเสียไปตลอดกาล ช่างยากที่จะลบเลือน

***************************************** 


เอื้อเฟื้อภาพและบทความจาก : หนังสือเรื่อง ฟื้นฟูปราสาท สด๊ก ก๊อก ทม

จัดทำโดย : องค์กรพันธมิตรแห่งประเทสญี่ปุ่น เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการกู้ระเบิดเพื่อ มนุษยธรรม (JAHDS) 

















วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การตรวจค้นทุ่นระเบิด(MINE DETECTION) ตอนที่ 4




การตรวจค้นด้วยสุนัข (DETECTION BY TRAINED DOG) สุนัขที่ใช้ในการตรวจค้นทุ่นระเบิด  จะได้รับการฝึกในการค้นหาทุ่นระเบิดมาแล้วเป็นอย่างดี โดยสุนัขแต่ละตัวมีผู้ควบคุมซึ่งเราเรียกว่าผู้ควบคุมสุนัข สุนัขจะฟังคำสั่งเฉพาะผู้ควบคุมสุนัขของตนเท่านั้น  การตรวจค้นของสุนัขโดยมีผู้บังคับสุนัขเป็นผู้ออกคำสั่งจะได้ผลดีมากขณะมีลมพัด แต่จะมีข้อจำกัดในขณะที่ฝนตกหรือหลังจากการฝนตก จะไม่กระทำกัน เมื่อสุนัขตรวจพบทุ่นระเบิดจะให้สัญญาว่าพบโดยวิธีแตกต่างกันออกไป แต่มาตรฐานการปฏิบัติของ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติจะปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันโดยการฝึกให้สุนัขนั่ง แล้วให้รางวัล ก่อนจะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปพิสูจน์ทราบ สุนัขแต่ละตัวจะปฏิบัติงานไม่เกิน 3 ชม. 
ที่มา : ตำราการตรวจค้นและทำลายของ ศทช.ฯ ตำราผู้ควบคุมสุนัข ศทช.ฯ

การตรวจค้นทุ่นระเบิด(MINE DETECTION) ตอนที่3



  • การตรวจค้นด้วยเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด(DETECTION BY MINE DETECTOR) เป็นเครื่องตรวจค้นที่หิ้วได้มีความสามารถในการตรวจค้นทุ่นระเบิดได้แทบทุกชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งทุ่นระเบิดชนิดโลหะ แต่ขีดความสามารถจำกัดกับทุ่นระเบิดชนิดที่เป็นอโลหะ แต่เมื่อใช้ร่วมกับการตรวจค้นด้วยสายตา และด้วยของแหลมแล้วจะช่วยให้การตรวจค้นทุ่นระเบิดได้ผลยิ่งขึ้น 
  • ลักษณะการทำงานจะเปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแม่เหล็ก โดยทั่วไปจะต้องใช้ควบคู่กับการตรวจค้นด้วยสายตาและการตรวจค้นด้วยของแหลม สิ่งที่เพิ่มความยุ่งยากของการตรวจค้นด้วยเครื่องตรวจคือ การตรวจส่ายค้นหาเหนือรากไม้ หลุมอากาศ หรือลักษณะดินที่มีแม่เหล็ก 
  • เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดแบ่งเป็นสองชนิดคือเครื่องตรวจค้นโลหะและอโลหะ 
  • เจ้าหน้าที่ที่ใช้เครื่องตรวจค้นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในขีดความสามารถของเครื่องตรวจที่ใช้โดยละเอียอด 

ที่มา : ตำรา ตรวจค้นและทำลาย ศทช.ฯ สงครามทุ่นระเบิด รร.ช.ฯ

การตรวจค้นทุ่นระเบิด (MINE DETECTION) ตอนที่ 2



  • การตรวจค้นด้วยของแหลม (DETECTION  BY  PROBING)  เป็นวิธีการค้นหาทุ่นระเบิดโดยการใช้เครื่องมือที่แหลมๆแทงไปในดิน โดยวัสดุที่ใช้ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เพื่อป้องกันชนวนแม่เหล็กและระเบิดพวกเชื้อประทุไฟฟ้า การตรวจด้วยของแหลมเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจค้นทุ่นระเบิดชนิดอโลหะ แต่เป็นงานที่ล่าช้าและน่าเบื่อหน่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ๆเเข็ง
  • การตรวจค้นด้วยของแหลมเจ้าหน้าที่ เคลื่อนที่ในลักษณะนั่งยองๆหรือคลานเข้าไปข้างหน้าเพื่อตรวจหาลวดสะดุดและแผ่นรับแรงกด ให้ม้วนแขนเสื้อทั้งสองข้างเพื่อให้ไวต่อการสัมผัสกับลวดสะดุด หลังจากพิจารณาแล้วเจ้าหน้าที่จะใช้ของแหลมแทงลงไปในพื้นดินทุกๆระยะ 2 นิ้ว กว้างด้านหน้าหนึ่งเมตร แทงของแหลมเบาๆในดิน ให้เป็นมุมระดับ 35-45 องศาเพราะหากแทงตรงๆปลายของแหลมตรวจค้นอาจไปกระทำชนวนกดของทุ่นระเบิดได้ เมื่อเจอกับวัตถุแข็งๆให้หยุดแทงและทำการรื้อดินและเปิดหน้าดินออกด้วยความระมัดระวัง
ที่มา : ตำราตรวจค้นและทำลาย ศทช.ฯ สงครามทุ่นระเบิด รร.ช.ฯ

อ่านต่อ : การตรวจค้นทุ่นระเบิด (MINE DETECTION) ตอนที่ 3

การตรวจค้นทุ่นระเบิด(MINE DETECTION) ตอนที่ 1

• การตรวจค้นทุ่นระเบิด (MINE DETECTION) คือการค้นหาทุ่นระเบิดและกับระเบิดที่วางไว้ด้วยวิธีการต่างๆ ในขั้นแรกเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจค้นจะต้องพบและทราบตำบลที่วางทุ่นระเบิดหรือกับระเบิดอย่างกว้างๆก่อนโดยพิจารณาจากข้อมูลดังต่อไปนี้ 
• การพิจารณาว่าตำบลที่มีการวางทุ่นระเบิดสังเกตจาก การถูกระเบิดโดยตรงของคน การลาดตระเวนทางพื้นดิน ทางอากาศ การลาดตระเวนด้วยการยิง การตีความจากภาพถ่ายทางอากาศ การซักถามจากบุคคลในพื้นที่ จากเอกสารการบันทึกสนามทุ่นระเบิด 
• วิธีการตรวจค้นทุ่นระเบิด  (DETECTION METHODS) กระทำได้ 4 วิธีคือ 1.การตรวจค้นด้วยสายตา 2.การตรวจค้นด้วยของแหลม 3.การตรวจค้นด้วยเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด 3.การตรวจด้วยสุนัขที่ได้รับการฝึกเพื่อตรวจค้นทุ่นระเบิดโดยเฉพาะ
 • การตรวจค้นด้วยสายตา ทำได้โดยการที่มีสิ่งบอกเหตุ ต่างๆเหลือทิ้งอยู่ เช่น ดินที่ถูกรบกวน กองหิน กากหีบห่อทุ่นระเบิด หรือสลักนิรภัยของชนวน เครื่องหมายแสดงสนามทุ่นระเบิด ในการตรวจค้นเริ่มต้นจากตำบลที่น่าจะวางทุ่นระเบิด หรือกับระเบิด ดังนี้ 1.หลุม หรือรอยแตกหรือตำบลที่ขุดง่ายบนถนน 2.ข้างใต้ตรงริมของผิวถนนตรงจุดรวมของผิวถนนกับไหล่ถนน 3.บนไหล่ถนนเมื่อวางทุ่นระเบิดและพรางทุ่นระเบิดได้โดยง่าย ทุ่นระเบิดฝังลึกๆบนไหล่ถนนนั้นตรวจค้นได้ยาก 4.ทางเบี่ยงและรอบๆสะพาน ทางโค้ง ทางร่วมทางแยก 5.ต้นสะพานหรือปลายสะพาน หลุมขนาดใหญ่ที่สามารถหลบซ่อนภัย 6.ในเครื่องกีดขวางลวดหนาม รั้วลวด และเครื่องกีดขวางคล้ายๆกัน ตลอดจนเครื่องกีดขวางอื่นๆ เช่นยายพาหนะที่ถูกทิ้งไว้ ต้นไม้ที่ล้มขวางถนนตลอดกิ่งไม้ที่กีดขวางทางเดิน 7.ใกล้กับวัตถุที่ผิวธรรมชาติ 8.ในตำบลที่มีการขับยานพาหนะ เข้า ออก ตามปกติ เช่น ที่กลับรถ ที่จอดรถ ทางเข้าอาคาร ช่องแคบ และทางวิ่งของสนามบิน 9.ใกล้ซากศพหรือของที่ระลึก 10.ตำบลที่น่าจะเป็นที่พักแรม หรือจุดที่รวมพล ในอาคารที่เหมาะจะใช้เป็นที่บังคับการและที่ตรวจการณ์

ที่มา : ตำรา หลักสูตรตรวจค้นและทำลายฯ ศทช.ฯ สงครามทุ่นระเบิด รร.ช.กช.

อ่านต่อ  : การตรวจค้นทุ่นระเบิด (MINE DETECTION) ตอนที่2

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ขาเทียมใต้เข่า

ที่มาhttp://www.youtube.com/user/mmm492585?feature=watch

สารคดี เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จดพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ที่มาhttp://www.youtube.com/user/cosovo999?feature=watch

ร.พ.ดอนตูมงานทำขาเทียม

ที่มาhttp://www.youtube.com/user/Dontumhos?feature=watch

รายการต่อเติมให้เต็ม ตอน การทำขาเทียมใต้เข่า

ที่มาhttp://www.youtube.com/user/hs3mlh?feature=watch