ตอนที่ 2การแบ่งประเภทของระเบิดแสวงเครื่อง
ระเบิดแสวงเครื่องสามารถประดิษฐ์จากวัสดุที่มีอยู่โดยทั่วไป
ทำให้รูปแบบของระเบิดแสวงเครื่องมีได้หลายรูปแบบและไม่มีลักษณะที่แน่นอน
อาจใช้วัสดุทางทหาร ,วัสดุทางพาณิชย์หรือวัสดุผสมต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมาเอง
ทำให้ง่ายสำหรับผู้ก่อการร้ายในการจัดหาวัตถุดิบ, การซุกซ่อนพกพา, การประดิษฐ์ และ
การนำมาใช้ แต่จะเป็นการยากสำหรับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ
ในการตรวจค้นและเก็บกู้วัตถุระเบิด
ตัวอย่างของระเบิดแสวงเครื่องที่พบเห็นได้บ่อยและใช้กันในปัจจุบัน เช่น
รถยนต์หรือรถบรรทุกระเบิด (Car or Truck Bomb), ไปรษณีย์ระเบิด (Letter and
Package Bomb),ระเบิดพลีชีพ (Suicide Bomb),ระเบิดท่อ (Pipe Bomb),
กล่องระเบิดหรือกระเป๋าระเบิดเป็นต้น
ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาส่วนมากเป็นการประดิษฐ์อย่างง่ายๆไม่ซับซ้อน
ปัจจุบันเทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น
การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุระเบิด
หรือวัตถุที่สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นวัตถุระเบิดสามารถพบเห็นกันอย่างกว้างขวาง
ทำให้การทำระเบิดแสวงเครื่องมีความซับซ้อนมากขึ้นและสามารถควบคุมการทำงาน
ได้จากระยะไกล (Remote Control) เก็บกู้ระเบิดแสวงเครื่องเป็นไปด้วยความยุ่งยากและอันตรายมากขึ้น
ซึ่งในการเก็บกู้นั้นจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษต่างๆ
เข้าช่วยในการปฏิบัติงานและสิ่งสำคัญที่สุดคือ
ต้องอาศัยการข่าวที่ถูกต้องและแม่นยำเพื่อเป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยจากการควบคุม การจำหน่ายและการใช้วัตถุระเบิดทางพาณิชย์อย่างเข้มงวด ด้วยเหตุนี้ ผู้ก่อการร้ายจึงต้องหันมาผลิตวัตถุระเบิดทำเอง จากวัสดุที่หาได้ง่าย การควบคุมวัสดุเหล่านี้ส่วนมากไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีที่ใช้อย่างกว้างขวาง ในเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และคหกรรม
องค์ประกอบของวัตถุระเบิดทำเอง ในการผลิตวัตถุระเบิดทำเอง ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ สองชนิด คือ ตัวให้ออกซิเจน และเชื้อเพลิง
ตัวให้ออกซิเจน ( oxidizer) เป็นสารที่มีออกซิเจนอยู่มาก ซึ่งสามารถคายออกซิเจนเมื่อได้รับความร้อน ได้แก่สารพวกไนเตรท คลอเรต และเกลือเปอร์แอซิดต่าง ๆ เช่น เปอร์คลอเรต เปอร์ซัลเฟต เปอร์คาร์บอเนตหรือเปอร์บอเรต ตัวให้ออกซิเจนต่าง ๆ ที่หาได้ง่ายและแหล่งจำหน่ายมีทั่วไป
ตัวให้ออกซิเจน ( oxidizer) เป็นสารที่มีออกซิเจนอยู่มาก ซึ่งสามารถคายออกซิเจนเมื่อได้รับความร้อน ได้แก่สารพวกไนเตรท คลอเรต และเกลือเปอร์แอซิดต่าง ๆ เช่น เปอร์คลอเรต เปอร์ซัลเฟต เปอร์คาร์บอเนตหรือเปอร์บอเรต ตัวให้ออกซิเจนต่าง ๆ ที่หาได้ง่ายและแหล่งจำหน่ายมีทั่วไป
เชื้อเพลิง เชื้อเพลิงหลายอย่างที่หาได้ง่าย หรับใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุระเบิด มีทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว
ประเภทของระเบิดแสวงเครื่อง
ระเบิดแสวงเครื่องสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะของระบบการทำงาน
ได้ 3 ระบบคือ
1.ระบบสารเคมีเป็นการใช้สารเคมีทำให้เกิดการทำงานของระเบิดแสวงเครื่องเช่นการใช้น้ำกรดกัดกร่อนภาชนะที่บรรจุสารเคมี เมื่อภาชนะรั่วทำให้สารเคมีซึ่งเป็นส่วนผสมของระเบิดผสมกันทำให้เกิดปฏิกริยากันแล้วระเบิดขึ้น
วิธีการนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนักเพราะขั้นตอนการทำยุ่งยาก,ไม่สามารถควบคุมเวลาที่ทำให้ระเบิดได้แน่นอนและที่สำคัญคือเป็นอันตรายแก่ผูู้ประดิษฐ์
2. ระบบกลไก เป็นการใช้อุปกรณ์ทางกลต่างๆทำให้เกิดการทำงานของ ระเบิดแสวงเครื่องเช่น การใช้กลไกประกอบลูกระเบิดขว้างบรรจุในภาชนะเมื่อเปิดภาชนะจะทำให้กระเดื่ีองนิระภัยของลูกระเบิดขว้างเป็นอิสระแล้วเกิดระเบิดขึ้น หรือการใช้ระบบลานนาฬิกาเป็นกลไกเมื่อครบเวลาที่ ตั้งไว้จะปลดล็อคกระเดื่องนิรภัยให้เป็นอิสระแล้วเกิดระเบิดขึ้น วิธีการนี้ส่วนใหญ่จะอาศัยสิ่งอื่นๆ มาประกอบต่อตัวระเบิดจึงจะเริ่มทำงาน ระเบิดแสวงเครื่องแบบนี้นิยมใช้เพื่อการข่มขู่การประสงค์ต่อชีวิตหรือทำให้บาด เจ็บล้มตายเฉพาะบุคคล
3.ระบบไฟฟ้า เป็นการใช้อุปกรณ์ทางการไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ทางอิเล็คทรอนิคส์มาทำให้เกิดการทำงานของระเบิดแสวงเครื่อง เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ โทรศัพท์ไร้สาย รีโมทคอนโทล วิทยุบังคับนำมาประกอบเชื้อประทุไฟฟ้าและวัตถุระเบิดระเบิดแสวงเครื่องแบบนี้เป็นที่นิยมกันมากในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้เนื่องจากทำได้ง่ายสามารถควบคุมการทำงานและกำหนดเวลาชัดเจน ควบคุมการทำงานได้ในระยะไกล กลไกซับซ้อนตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของผู้ประดิษฐ์
ที่มา : - ตำราต่อต้านระเบิดแสวงเครื่อง หลักสูตรสงครามทุ่นระเบิด รร.ช.กช.
- ตำราIED รร.สพ.ทบ.
- คู่มือ IED กรมสรรพวุธทหารบก
- ตำราIED รร.สพ.ทบ.
- คู่มือ IED กรมสรรพวุธทหารบก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น