วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ การตรวจค้น การรื้อถอน และการทำลายทุ่นระเบิด


สวัสดีค่ะ วันนี้มีเรื่องน่าสนใจมานำเสนอสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ การตรวจค้น การรื้อถอน และการทำลายทุ่นระเบิด

มีข้อเท็จจริงที่สำคัญมีอยู่ 2 ประการ ที่บังคับให้ฝ่ายเราต้องจัดขบวนการต่อต้านโดยตรง

ประการที่ 1 :  เราต้องเผชิญกับฝ่ายข้าศึกซึ่งมีสมองใส ผู้เริ่มการใช้ทุ่นระเบิดต่อต้านฝ่ายเรา

ประการที่ 2 :  เกี่ยวกับความจริงที่น่าเกรงกลัวคือ การพัฒนาของทุ่นระเบิดและวิธีการเสียบชนวนไว้รุดหน้าก้าวไกลเกินกว่าวิธีการตรวจค้น และการรื้อถอนทุ่นระเบิดให้สิ้นเชิงของฝ่ายเรา การพัฒนาการของทุ่นระเบิดอโลหะขนาดเล็กเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังต้องทำให้ฝ่ายเราต้องพิจารณาแก้ไขพิจารณาแก้ไขยุทธวิธีการรื้อถอน ข้าศึกรี้ลับของเราย่อมจะต้องมีทุ่นระเบิดชนิดนี้ใช้เหมือนกัน และได้เคยใช้ทุ่นระเบิดเหล่านี้อย่างกว้างขวางมาแล้วตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

 วิธีการตรวจค้นหาตำบลที่วางทุ่นระเบิด

ก. วิธีการพิจารณาว่ามีทุ่นระเบิดที่วางไว้ เพื่อหวังผลในทางยุทธวิธี ณ ตำบลใดตำบลหนึ่ง หรือในพื้นที่ใดพื้นที่นั้น อาจจะใช้พิจารณาได้จาก

     1) การถูกทุ่นระเบิดโดยตรง

     2) การลาดตะเวนทางพื้นดิน

     3) การลาดตระเวนทางอากาศ

     4) การลาดตระเวนด้วยการยิง

     5) การตีความจากภาพถ่ายทางอากาศ

     6. การซักถามเชลยศึกและบุคคลอื่น ๆ

     7) การประเมินค่าจากการรายงานข่าวกรอง และจากแผนที่และเอกสารที่ยึดได้

ข. สิ่งบอกเหตุประการแรกของพื้นที่ทุ่นระเบิด อาจทราบได้โดยที่ทหารหรือยานพาหนะถูกทุ่นระเบิดทุ่นหนึ่งเข้า สิ่งบอกเหตุนี้จะเป็นจริงที่สุดโดยเฉพาะเมื่อมีการวางทุ่นระเบิดแบบกระจัดกระจาย หรือการวางทุ่นระเบิดรบกวน เพื่อให้การถูกทุ่นระเบิดโดยตรงลดน้อยลงแล้ว จะต้องใช้วิธีการอื่นในการพิจารณาถึงการมีอยู่ของทุ่นระเบิดในพื้นที่นั้น ก่อนที่หน่วยทหารฝ่ายเราจะเข้าไปในพื้นที่นั้น

ค. การพิจารณาพื้นที่ที่มีทุ่นระเบิดนั้น อาจกระทำได้โดยการลาดตระเวณด้วยการยิง , การลาดตระเวณด้วยสายตา, การตีความจากภาพถ่ายทางอากาศ, การซักถามบุคคลและการประเมินค่าจากแผนที่และจากเอกสาที่ยึดได้

     จากแหล่งการพิจารณาเหล่านี้ จะต้องมีการตรวจสอบด้วยการลาดตระเวนทางพื้นดิน การตรวจค้นทุ่นระเบิดแต่ละทุ่นด้วรลาดตระเวนทางพื้นดินร่วมกับการตรวจด้วยสายตา การตรวจค้นด้วยเหล็กตรวจค้น และการตรวจค้นด้วยวิธีอื่น ๆ นั้นเป็นการชักช้า แต่ก็เป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่ใช้ได้สำหรับการตรวจตรวจหาพื้นที่ ๆ มีทุ่นระเบิดซึ่งสามารถกระทำในสภาพดินฟ้าอากาศทุกฃนิด

ง. การลาดตระเวณด้วยการยิง วิธีการอื่น ๆ ที่จะใช้ในการตรวจพื้นที่ ๆ มีทุ่นระเบิดนั้นคือ การลาดตระเวนด้วยการยิงของปืนใหญ่ เครื่องยิงลูกระเบิดหรือการยิงด้วยจรวดและการทิ้งระเบิด การระเบิดของกระสุนหรือลูกระเบิดหนึ่งลูกบนพื้นดินหรือใกล้กับพื้นดิน จะสังเกตได้จากหลุมระเบิดที่ลักษณะกลมและเรียบอยู่รอบ ๆ จุดยิงระเบิดของการยิงอาวุธ แต่อย่างไรควรระลึกไว้ว่าการยิงดังกล่าวนี้ อาจจะทำให้การรื้อถอนทุ่นระเบิด กับระเบิด หรือทุ่นสังหาร  ในภายหลังนั้นเกิดความยากลำบากและมีอันตรายมากขึ้น

การตรวจค้นทุ่นระเบิด (Detection Methods)

การตรวจค้นทุ่นระเบิด  กระทำได้  4  วิธีคือ

1)   การตรวจด้วยสายตา
2)   การรวจด้วยเหล็กตรวจค้น
3)   การตรวจค้นด้วยเครื่องตรวจค้นไฟฟ้า
4)   การตรวจค้นด้วยสุนัข

การตรวจค้นด้วยสายตา (Detection by Visual Means) หน่วยทหารทุกเหล่าและทุกสายบริการ จะต้องสามารถตรวจค้นทุ่นระเบิดและกับระเบิดของข้าศึกใช้เสมอ ๆ ในสนามได้ ความสับเพร่าหรือความเร่งรีบของข้าศึกอาจจะทำให้มีสิ่งบอกเหตุต่าง ๆ เหลือทิ้งอยู่ เช่น ดินที่ถูกรบกวน, กองหิน, กากหีบห่อทุ่นระเบิด หรือสลักนิรภัยของชนวน เครื่องหมายสามทุ่นระเบิดของข้าศึก วิธีการตรวจค้นด้วยสายตา เป็นวิธีการที่สำคัญในการตรวจค้นตำบลที่วางทุ่นระเบิดวิธีหนึ่ง ความเป็นมาที่เกี่ยวกับลักษณะและการใช้ทุ่นระเบิดของข้าศึกโดยเฉพาะ มักจะเป็นเครื่องช่วยอย่างใหญ่หลวงในการตรวจค้นหาตำบลที่วางทุ่นระเบิดของข้าศึก ตำบลที่น่าจะเป็นตำบลที่วางทุ่นระเบิดได้แก่
     1. หลุมกลม, รอยแตกบนถนนหรือตำบลอ่อนๆ บนผิวถนน
     2. ข้างใต้ตรงริมของผิวถนนตรงจุดรวมขิงผิวถนนกับไหล่ถนน
     3. บนไหล่ถนนซึ่งวางทุ่นระเบิด และพรางทุ่นระเบิดได้โดยง่ายทุ่นระเบิดที่ฝังลึก ๆ บนไหล่ถนนนั้นตรวจค้นได้ยาก

การคตรวจค้นด้วยเหล็กตรวจค้น (Detection by probing)

ก) การตรวจค้นด้วยเหล็กตรวจค้น เป็นวิธีการตรวจค้นทุ่นระเบิดที่ต้องใช้แทงลงไปในดินด้วยเครื่องมือแหลม ๆ เช่น ดาบปลายปืน หรือลวดเหนียว ๆ การตรวจค้นด้วยเหล็กตรวจค้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับตรวจค้นทุ่นระเบิดชนิดโลหะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุ่นระเบิดสังหารขนาดเล็ก ๆ เช่นระเบิดสังหาร M - 14 แต่อย่างไรก็ดีการตรวจค้นด้วยเหล็กตรวจค้นเป็นงานที่ชักช้าและเป็นงานที่น่าเบื่อหน่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ ๆ เป็นน้ำแข็ง เมื่อปรากฎว่าทุ่นระเบิดที่ไม่ทราบชนิดของชนวน หรือ สงสัยว่าเป็นชนวนแม่เหล็ก จะต้องใช้เหล็กตรวจค้นด้วยทองเหลือง ด้วยเหตุผลในทำนองเดียวกันจะต้องนำโลหะที่ไวต่อแม่เหล็กทั้งหมดออกไปให้พ้นพื้นที่ ๆ จะตรวจค้นด้วยเหล็กตรวจค้น

ข) ขณะตรวจค้นด้วยเหล็กตรวจค้น ทหารเคลื่อนที่ด้วยมือและใช้เข่าคลานมองไปข้างหน้าและข้างบนเพื่อตรวจหาลวดสะดุดและเหล็กรับแรงกด ให้ม้วนแขนเสื้อทั้งสองขึ้นเพื่อเพิ่มความไวเมื่อสัมผัสกับลวดสะดุด หลังจากมองและค้นหาแล้ว ทหารใช้เหล็กตรวจค้นแทงลงไปในพื้นดินทุก ๆ ระยะ 2 นิ้ว (5 ซม.) ในกว้างด้านหน้าประมาณ 1 เมตร แทงเหล็กตรวจค้นลงดินเบา ๆ ให้เป็นมุมกับเส้นระดับน้อยกว่า 45 องศา หากแทงลงไปตรง ๆ  แล้วปลายของเหล็กตรวจค้นอาจจะไปกระทำต่อชนวนกดของทุ่นระเบิด ทำให้เกิดระเบิดขึ้นได้ เมื่อเหล็กสัมผัสกับวัตถุแข็งแล้ว ให้หยุดแทงและให้รื้อดินออกด้วยความระมัดระวัง เมื่อพิจารณาได้ตรวจค้นพบสิ่งใด ถ้าหากตรวจค้นพบทุ่นระเบิดแล้ว ให้รื้อดินออกให้มากกพอสมควรเพื่อจะพิจารณาชนิดทุ่นระเบิดและตำบลที่วางทุ่นระเบิดโดยแน่นอนได้

การตรวจค้นด้วยเครื่องตรวจค้นไฟฟ้า (Electrical Detection)

ก) เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดไฟฟ้า เป็นเครื่องตรงจค้นไฟฟ้าที่หิ้วได้ มีความสามารถในการตรวจค้นทุ่นระเบิดได้ทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุ่นระเบิดชนิดโลหะ เครื่องตรวจค้นไฟฟ้ามีขีดจำกัดโดยแน่นอน แต่เมื่อใช้ร่วมกับการตรวจค้นด้วยสายตาและการตรวจค้นด้วยเหล็กค้นแล้ว จะช่วยในการตรวจค้นทุ่นระเบิดได้ผลดียิ่งขึ้น เครื่องตรวจค้นด้วยไฟฟ้าให้สัญญาณแสดงตำบลที่วางทุ่นระเบิดโดยการใช้เครื่องได้ยินจากชุดหูฟัง และการส่ายของเข็มชี้ในเครื่องวัดที่เห็นได้ด้วยสายตา การใช้เครื่องตรวจค้นไฟฟ้านี้อาจจะใช้ในท่ายืน ท่าคุกเข่าหรือนอนราบ

ข) เครื่องตรวจค้นไฟฟ้าทุกชนิด ให้สัญญาณไม่ถูกต้องบ้างเหมือนหันเครื่องตรวจค้นโลหะขนาดเล็กไม่เพียงแต่จะตรวจค้นทุ่นระเบิดโลหะได้เท่านั้น แต่สามารถตรวจค้นตะปูหรือโลหะชนิดอื่นที่ฝังลึกกว่าทุ่นระเบิดได้อีกด้วย ความชำนาญในการปฏิบัติต่อเครื่องตรวจค้นแต่ละชนิดจะช่วยให้พิจารณาได้ว่าอะไรทำให้เครื่องตรวจค้นส่งเสียงสัญญาณ แต่โดยมากมักจะต้องใช้การตรวจค้นด้วยเหล็กตรวจค้นร่วมกับเครื่องตรวจค้นไฟฟ้าด้วย ในทำนองเดียวกันเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดอโลหะ อาจจะส่งสัญญาณไม่ถูกต้อง เมื่อเครื่องมือตรวจค้นส่ายเหนือรากไม้หรือหลุมอากาศ ลักษณะของดินที่มีแม่เหล็กเพิ่มความยุ่งยากให้กับเครื่องตรวจค้นโลหะขนาดเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อเครื่องตรวจค้นโลหะ

ค) ทหารที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ใช้เครื่องตรวจค้น จะต้องมีความรู้ในขีดความสามารถของเครื่องตรวจค้นที่ใช้โดยละเอียด ทหารที่เป็นพลประจำเครื่องตรวจค้น จะต้องตรวจค้นหากัยระเบิดและลวดสะดะดุดตลอดเวลา จะต้องมอบหมายหน้าที่ในการตรวจค้นให้การทำงานไม่เกิดช่วงระยะเวลา 20 นาที

เครื่องตรวจค้นไฟฟ้าที่มีอยู่คือ

ก. AN / PRS - 3 (POLLYSMITH)
ข. AN / PRS - 3 (TRANSISTORIYED)
ค. AN / PPS - 4 (UNCLE HENRY)
ง. AN / PRS - 2 (JEEP Mounted Detection)
จ. MICROWAVE MINE DETECTOR


การตรวจค้นด้วยสุนัข  สุนัขที่ใช้ตรวจค้นทุ่นระเบิด  จะได้รับการฝึกมาแล้วอย่างดี สุนัขแต่ละตัวจะมีผู้ควบคุมซึ่งเรียกว่า  ผู้บังคับสุนัข วึ่งสุนัขจะฟังคำสั่งเฉพาะผู้บังคับตนเท่านั้น  ดังนั้นการตรวจค้นทุ่นระเบิดของสุนัขจะใช้วิธีดมกลิ่นและฟังเสียงจากลวดสะดุด  การปฏิบัติการของสุนัขจะใช้ได้ผลดีมากในขณะที่มีลมพัด เมื่อสุนัขพบทุ่นระเบิดจะให้สัญญาณเตือนภัย ซึ่งสัญญาณการเตือนภัยของสุนัขแต่ละตัวจะไม่เหมือนกัน  แต่ผู้บังคับสุนัขแต่ละคนจะทราบได้ ดังนั้น ในการตรวจสอบจุดวางที่แน่นอนของทุ่นระเบิดหรือกับระเบิด การตรวจค้นของสุนัขจะให้ผลดีถ้าสุนัขแต่ละตัวปฏิบัติงานไม่เกิน 3 ชั่วโมง แต่ถ้าให้ทำงานระยะสั่น ๆ และให้พักเป็นระยะ ๆ แล้ว เวลาการปฏิบัติงานอาจจะขยายออกไปได้ 6 - 8 ชั่วโมง

การรื้อถอนทุ่นระเบิด  (Removal Methods) วิธีรื้อถอนทุ่นระเบิดกระทำได้  5 วิธีคือ

1. การยกทุ่นระเบิดด้วยมือ
2.การรื้อถอนด้วยเชือก
3.การทำลาย  ณ  ที่วาง
4. การรื้อถอนด้วยเครื่องกล
5. วิธีอื่น ๆ

1. การยกทุ่นระเบิดด้วยมือ (Hand Lifting Mine) การทำให้ทุ่นระเบิดอยู่ในลักษณะที่ปลอดภัยนั้น กระทำได่โดยการตัดสาย การจุดระเบิดของทุ่นระเบิดทุก ๆ สายให้ขาดจากกัน หากสถานการณ์ต่าง ๆ อำนวยให้แล้ว การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ไวไฟลาดสนามทุ่นระเบิดที่มีหญ้าขึ้นสูงแล้วจุดไฟขึ้น  ก็จะทำให้การรื้อถอนทุ่นระเบิดง่ายขึ้น จะต้องตรวจสอบลวดสะดุดและใช้หลักการตรวจค้นในพื้นที่ด้วยความระมัดระวัง
     การรื้อถอนด้วยระเบิดมือนั้น  ใช้เฉพาะเมื่อผู้บังคับบัชาได้พิจารณาเห็นว่าต้องการมิให้บังเกิดเสียงดังเกี่ยวกับผลทางยุทธวิธี  หรือใช้เมื่อทุ่นระเบิดวางอยู่ในที่ซึ่งเมื่อระเบิดขึ้นแล้ว  จะทำความเสียหายให้แก่สิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ  ทุ่นระเบิดของต่างประเทศบางชนิดมีเครื่องป้องกันการยกหรือเครื่องป้องกันการรบกวนติดอยู่กับทุ่นระเบิดด้วย  ทุ่นระเบิดเหล่านี้ไม่ทำการรื้อถอนได้โดยไม่จุดระเบิดขึ้น
การยกทุ่นระเบิดด้วยมือใช้ได้เฉพาะเมือ่ได้พิจารณาจากการลาดตระเวณแล้วว่าชนิดของทุ่นระเบิดในสนามสามารถทำให้ไม่พร้อมระเบิด และรื้อถอนด้วยมือได้เท่านั้น วิธีการที่เปลืองเวลามากนี้จะต้องใช้พนักงานซึ่งได้รับการฝึกมาอย่างดีในเรื่องทุ่นระเบิดและชนวน
     1) ใช้เวลาตรวจค้นตรวจหาตำบลที่วางทุ่นระเบิดโดยแน่นอน
     2) รื้อถอนสิ่งปกคลุมทุ่นระเบิดออกเพื่อตรวจสอบชนิดทุ่นระเบิด กวาดฝุ่นรอบ ๆ ทุ่นระเบิดออก และใช้มือคลำลวดสะดุดและเครื่องจุดระเบิดกันเขยื้อน
     3) เมื่อได้ทำเครื่องจุดระเบิด ซึ่งอยู่ข้างบนทุ่นระเบิดและด้านข้างทุ่นระเบิดให้ไม่พร้อมระเบิดแล้ว ให้ขุดหลุมข้างทุ่นระเบิดอีกหลุมหนึ่ง ใช้ลวดแหลมแทงข้างใต้ทุ่นระเบิดในการตรวจค้นหาดังกล่าวนี้ กระจกเงาขนาดเล็กจะช่วยได้มาก
     4) ยกทุ่นระเบิดขึ้นด้วยความระมัดระวัง และนำไปยังตำบลปลอดภัยเพื่อจัดการทำลาย
     5) อย่าพยายามยกทุ่นระเบิดด้วยมือ ถ้าชนวนทุ่นระเบิดอยู่ในสภาพชำรุดเสียหาย

2. การรื้อถอนด้วยเชือก (Rope Removal) เมื่อได้ตรวจสอบทุ่นระเบิดแล้ว ให้ใช้วิธีรื้อถอนด้วยเชือก วิธีนี้จะช่วยให้ลดอันตรายที่เกิดจากเครื่องป้องกันการยกทุ่นระเบิด ที่อาจจะมีอยู่ข้างใต้ทุ่นระเบิดได้มาก ให้ใช้เชือกหรือโยธะกา ผูกบนทุ่นระเบิดและดึงในระยะปลอดภัยข้างหลังเครื่องป้องกันที่ใช้กำบังได้  รัศมีอันตรายของทุ่นระเบิด ส่วนมากในปัจจุบันนี่มีมากกว่า 50 เมตร  การดึงทุ่นระเบิดอาจจะช่วยใช้โครงไม้รูปตัว A หรือโครงไม้รูปตัว T ที่แสวงเครื่องในสนามเป็นเครื่องช่วยได้ ไม่ควรใช้โครงโลหะในการดึงทุ่นระเบิด เพราะว่าเมื่อทุ่นระเบิดขึ้น จะทำให้โครงโลหะถอยมาข้างหลังตรงเข้าหาพนักงานดึง
     1) รื้อสิ่งปกคลุมทุ่นระเบิดออก เพื่อให้เห็นบางส่วนของทุ่นระเบิดที่เหมาะสมสำหรับจะใชเชือกหรือลวดผูกได้โดยไม่รบกวนทุ่นระเบิด
     2) ใช้ปลายข้างหนึ่งของเชือก , ลวด กรือเชือกลวด ซึ่งมีความยาวอย่างน้อย 50 เมตร ผูกเข้ากับทุ่นระเบิด (หากจำเป็นให้สอดปลายเป็นของเชือกบนโครงตัว A  ซึ่งวางอยู่เหนือทุ่นระเบิด)  
     3) ต้องแน่ใจว่าพนักงานทุก ๆ คนที่อยู่ในบริเวณนั้นได้เข้าที่กำบังแล้ว
     4) เข้าที่พักกำบังซึ่งอยู่ห่างจากทุ่นระเบิด 50 เมตร และดึงทุ่นระเบิดเมื่ออยู่ในหลุุม
     5) คอย 30 วินาที ก่อนออกจากที่กำบังและเข้าไปยังทุ่นระเบิด
     6) ตรวจสอบหลุมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อค้นหาทุ่นระเบิดเพิ่มเติม
     7) ถอดชนวนออกจากทุ่นระเบิด หรือตัดสายการจุดระเบิดของทุ่นระเบิด
     8) ขนทุ่นระเบิดไปยังกองทุ่นระเบิด เพื่อจัดการทำลายหรือนำไปใช้ใหม่

3. การทำลาย ณ ที่วาง (Destruction in Place) การใช้วัตถุระเบิดในการทำลายทุ่นระเบิด หลังจากตรวจพบที่วางแล้ว เป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุด แต่ต้องได้พิจารณาว่า ถ้าหากทุ่นระเบิดเคมีมีพิษทุ่นหนึ่งหรือหลายทุ่นระเบิดขึ้น จะเกิดการเป็นพิษและจะได้รับอันตรายเมื่อลมพัดมาทางฝ่ายเรา การจุดทุ่นระเบิดส่วนมากใช้ดินระเบิดแท่งเหลี่ยมขนาด 1 ปอนด์ หรือดินระเบิดพลาสติกเพียง 1 กำมือ ประกอบกับเครื่องจุดระเบิดต่อเข้ากับทุ่นระเบิดหลาย ๆ ทุ่น และจุดระเบิดให้ระเบิดพร้อม ๆ กันได้ ในบางสถานการณ์การจุดระเบิดด้วยวัตถุระเบิด เป็นวิธีการท่ีพึงประสงค์น้อยกว่าการใช้วิธีรื้อถอนด้วยเชือก หรือการด้วยถอนด้วยมือ โดยเฉพาะเมื่อจะทำความเสียหายต่อสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญขึ้นได้เช่น สะพาน อาคาร และถนน

4. การรื้อถอนด้วยเครื่องมือกล Mechanical Devices) เครื่องมือกลที่ใช้อาจเป็นรถถัง รถสายพานลำเลียงพล หรือยานพาหนะประเภทล้อ อื่น ๆ ประกอบกับเครื่องที่รื้อถอนทุ่นระเบิด เช่น ลูกกลิ้งบดทับ , เครื่องไถ, เครื่องคุ้ยดิน

ประสบการณ์และผลได้จากเครื่องตรวจค้น

1. ตรวจพบยาก เพราะทุ่นระเบิดหรือกับระเบิดไม่มีโลหะอยู่เลย
2. ทุ่นหรือกับระเบิดเป็นโลหะ แต่ตลอดทางข้าศึกวางทุ่นระเบิดไว้เต็มไปหมดจนเราตายใจ
3. วางทุ่น หรือกับระเบิดไว้ลึก แล้ววางทุ่นหลอกไว้ผิวหน้า ผู้ตรวจที่ไม่ตรวจซ้ำจะเป็นอันตราย
4. ความชำนาญไม่เพียงพอ
6. ความประมาท
7. เครื่องตรวจประสิทธิภาพไม่ดี
7. กลโกงของข้าศึก



ที่มาของบทความ :  คู่มือ และระเบียบหลักสูตรแจ้งเตือนและให้ความรู้
กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ


ไม่มีความคิดเห็น: